เมนู

ทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย มีคำ
อธิบายว่า ภิกษุสุทินเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติ.
ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความในกาลก่อน
อย่างนี้ก่อน. ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความ
ในภายหลัง อย่างนี้ว่า พระธนิยะ บุตรนายช่างหม้อ ได้ถือเอาของที่เจ้าของ
เขาไม่ให้ คือไม้ทั้งหลายของพระราชา โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่กรุงราชคฤห์. เนื้อความแห่งคำว่า เตน เป็นอัน
ข้าพเจ้าจักกล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

[อธิบายบทว่า สมเยน เป็นต้น]


ส่วน สมยศัพท์ ซึ่งมีในบทว่า สมเยน นี้
ย่อมปรากฏในอรรถ 9 อย่าง คือ
สมวายะ 1 ขณะ 1 กาละ1 สมุหะ 1
เหตุ 1 ทิฏฐะ 1 ปฏิลาภะ 1 ปหานะ 1
ปฎิเวธะ 1

ก่อน
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์มีสมวายะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน แม้พรุ่งนี้ เราทั้งหลายพึงเข้าไปให้เหมาะกาลและความ
พร้อมกัน.* มีขณะเป็นอรรถในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย !
* ที. สี. 9/251.

ก็ขณะและสมัยเพื่ออยู่พรหมจรรย์มีหนึ่งแล1. มีกาละเป็นอรรถในคำทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า คราวร้อน คราวกระวนกระวาย2. มีสุหะเป็นอรรถในคำ
ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ประชุมใหญ่ในป่ามหาวัน3. มีเหตุเป็นอรรถ ในคำ
ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ ! แม้เหตุผล ได้เป็นของอันท่านไม่ได้
แทงตลอดแล้วว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล เสด็จอยู่ในกรุงสาวัตถี. แม้
พระองค์จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ มิใช่ผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์
ด้วยสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดูก่อนภัททาลิ ! เหตุแม้นี้แล ได้เป็นของ
อันท่านไม่ได้แทงตลอดแล้ว4. มีทิฏฐิเป็นอรรถในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคหมานะบุตรของสมณฑิกา อาศัยอยู่ใน
อารามของนางมัลลิกา ศาลาหลังเดียวใกล้แถวต้นมะพลับเป็นที่สอนทิฏฐิเป็นที่
เรียน5. มีปฏิลาภะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ประโยชน์ใด ในทิฏฐธรรมนั่นแล
ด้วยประโยชน์ใด เป็นไปในสัมปรายภพด้วย
นักปราชญ์ ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้
เฉพาะซึ่งประโยชน์นั้น6.

มีปหานะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ได้กระทำ
ที่สุดทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ7. มีปฏิเวธะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมี
อาทิอย่างนี้ว่า อรรถคือความบีบคั้นแห่งทุกข์ อรรถคือข้อที่ทุกข์เป็นสังขต-
ธรรม อรรถคือความแผดเผาแห่งทุกข์ อรรถคือความแปรปรวนแห่งทุกข์
เป็นอรรถที่ควรแทงตลอด8. แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้นมีกาละเป็นอรรถ เพราะ
1. อง. กฎฺฐก. 23/230 2 วิ. มหา. 2/339. 3. ที. มหา. 10/287.
4. ม.ม. 13/165. 5. ม.ม. 13/342. 6. สํ. ส. 14/126. 7. องฺ จตุกฺก. 21/223.
8. ขุ. ปฏิ. 31/454

เหตุนั้น พึงเห็นเนื้อความในบทว่า เตน สมเยน นี้ อย่างนี้ว่า ความรำพึง
เป็นเหตุทูลวิวอนให้ทรงบัญญัติเกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร โดยกาลใด
โดยกาลนั้น
ในบทว่า เตน สมเยน นี้ โจทก์ท้วงว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร
ในวินัยนี้ จึงทำนิเทศด้วยตติยวิภัตติว่า เตน สมเยน ไม่ทำด้วยทุติยาวิภัตติ
ว่า เอกํ สมยํ เหมือนในสุตตตันตะ และด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย
กามาวจรํ เหมือนในอภิธรรมเล่า ? เฉลยว่า เพราะความสมกับใจความโดย
ประการอย่างนั้น ในสุตตันตะและอภิธรรมนั้น และเพราะความสมกับใจความ
โดยประการอื่นในวินัยนี้ สมกับใจความอย่างไร ? สมยศัพท์มีอัจจันตสังโยค
เป็นอรรถ เหมาะในสุตตันตะก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ด้วย
กรุณาวิหารตลอดที่สุดสมัยที่ทรงแสดงพระสุตตันตะทั้งหลาย มีพรหมชาลสูตร
เป็นต้นทีเดียว เพราะเหตุนั้น ในสุตตันตะนั้นท่านจึงทำอุปโยคนิเทศ เพื่อ
ส่องเนื้อความนั้น. ก็แล สมยศัพท์มีอธิกรณะเป็นอรรถ และความกำหนด
ภาวะด้วยภาวะเป็นอรรถ ย่อมเหมาะ ในอภิธรรม. จริงอยู่ สมยศัพท์มีกาละ
เป็นอรรถและมีสมุหะเป็นอรรถ เป็นอธิกรณ์แห่งธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในอภิธรรมนั้น ภาวะแห่งธรรมเหล่านั้น อันท่าน
ย่อมกำหนดด้วยความมีแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ สมวายะ และเหตุ เพราะ
เหตุนั้น ในอภิธรรมนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ เพื่อส่องเนื้อความ
นั้น. ส่วนในวินัยนี้ สมยศัพท์มีเหตุเป็นอรรถและมีกรณะเป็นอรรถจึงสมกัน.*
* พระราชกวี มานิต ถาวโร ป.ธ.9 วัดสัมพันธวงศ์แปล.

* ก็สมัยบัญญัติสิขาบทใดนั้น เป็นสมัยที่พระสารีบุตรเป็นต้นรู้ได้
ยาก. โดยสมัยนั้น อันเป็นเหตุและกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิกขาบททั้งหลาย และทรงพิจารณาดูเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท ได้เสด็จ
ประทับอยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านทำนิเทศด้วย
ตติยาวิภัตติในวินัยนี้ เพื่อส่องเนื้อความนั้น. ก็ในที่นี้มีคาถา (ด้วยสามารถ
แห่งการสงเคราะห์เนื้อความตามที่กล่าวแล้ว) ดังต่อไปนี้ว่า
เพราะพิจารณาเนื้อความนั้น ๆ ท่าน
พระเถระทั้งหลาย จึงกล่าวสมยศัพท์ใน
พระสูตรและพระอภิธรรมแห่งใดแห่งหนึ่ง
ด้วยตติยาวิภัตติและสัตตมีวิภัตติ. สมยศัพท์
นั้นท่านกล่าวในพระวินัยนี้ ด้วยตติยาวิภัตติ
เท่านั้น.

ส่วนพระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ว่า ความต่างกันนี้ว่า ตํ สมยํ
ตลอดสมัยนั้นก็ดี ว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้นก็ดี ว่า เตน สมเยน
โดยสมัยนั้นก็ดี แปลกกันแต่เพียงถ้อยคำ. ในทุก ๆ บทมีสัตตมีวิภัตติเท่านั้น
เป็นอรรถ. เพราะฉะนั้น ตามลัทธิของพระโบราณาจารย์นั้น แม้เมื่อท่าน
กล่าวคำว่า เตน สมเยน แปลว่า โดยสมัยนั้น ก็พึงเห็นความว่า ตสฺมึ
สมเย
แปลว่า ในสมัยนั้น.
ข้าพเจ้าจักพรรณนาอรรถแห่งบทเหล่านี้ว่า พุทฺโธ ภควา ดังนี้
เป็นข้างหน้า.
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป. ธ 9) วันสัมพันธวงศ์ แปล

[อรรถาธิบายคำว่า เวรญฺชยํ วิหรติ]


ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นี้ ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เวรญฺชายํ นี้ เป็นชื่อเมืองใดเมืองหนึ่ง. ในเมืองเวรัญชานั้น. คำว่า
เวรญฺชายํ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. คำว่า วิหรติ เป็นการ
แสดงถึงความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา
ธรรมเครื่องอยู่คืออริยาบถวิหาร ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร
โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้แสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอิริยาบทมีประเภท คือ การยืน การเดิน การนั่ง และการนอน.
เพราะฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ก็ดี เสด็จดำเนินไปก็ดี ประทับ
นั่งอยู่ก็ดี บรรทมอยู่ก็ดี บัณฑิตพึงทราบว่า เสด็จประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบทอย่างหนึ่ง
ด้วยอิริยาบทอีกอย่างกนึ่ง ทรงนำ คือทรงยังอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม
เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสด็จประทับอยู่.

[อรรถาธิบายคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล เป็นต้น]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ ดังต่อไปนี้ :
ยักษ์ชื่อ นเฬรุ. ต้นสะเดาชื่อว่า ปุจิมันทะ. บทว่า มูลํ แปลว่า
ที่ใกล้. จริงอยู่ มูลศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในรากเหง้า ในคำทั้งหลายมีอาทิเช่นว่า
พึงขุดรากเง้าทั้งหลาย โดยที่สุดแม้เพียงแฝกและอ้อ. ในเหตุอันไม่ทั่วไปใน
คำมีอาทิว่า ความโลภ เป็นอกุศลมูล. ในที่ใกล้ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
เงาย่อมแผ่ไปในเวลาเที่ยง, ใบไม้ทั้งหลายย่อมตกไปในเวลาปราศจากลม ได้
เพียงใด ด้วยที่เพียงเท่านี้ ชื่อว่ารุกขมูล (โคนต้นไม้). แต่ในบทว่า มูเล
นี้ ท่านประสงค์เอาที่ใกล้. เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำนี้ อย่างนี้ว่า